
จากห้องเรียนสู่เวทีประกวด
2 เมษายน 2019
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการวิจัย 2561 ครั้งที่ 4
3 เมษายน 2019จากการเข้าร่วมอบรมโครงการ Smart Teacher ฟินแลนด์โมเดล ได้นำเทคนิค การสวมหมวก comment เพื่อน ในรายวิชาการเขียนบท ซึ่งเป็นวิชาที่มีการบ้านเยอะ เนื่องจากสอนตั้งแต่การให้เขียนบท เขียนคำเกริ่น การเล่าเรื่อง การจบเรื่อง เช่น บท Motion graphic หรือว่า บทเกี่ยวกับการเขียนโฆษณาสินค้า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเป็นแอดมิน แฟนเพจ เฟสบุค ในอนาคต โดยเริ่มจากความรู้เบื้องต้นเรื่องของการเขียนบท แล้วค่อยนำไปสู่ การเล่าเรื่องเกี่ยวกับแอนิเมชั่น หรือว่าบทภาพยนตร์สั้น
ในช่วงแรกพบปัญหาภาระการตรวจงานเนื่องจาก มีนักศึกษาลงเรียน 3 ห้อง เป็นจำนวนมากประมาณ 100 คน การบ้านมันค่อนข้างถาโถมมาก จากการที่ต้องตรวจงานให้กับนักศึกษา ซึ่งทุกคลาสก็จะมีการบ้านทุกสัปดาห์ อย่างเช่น สอน 6 คลาสจะมีการบ้าน 6 ชิ้น รวมถึง 3 ห้อง ก็คือคูณไปแบบมหาศาล
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้ทดลองนำรูปแบบการวิจารณ์หรือการ comment เพื่อนด้วยสวมหมวก ซึ่งได้มาจากการเข้าร่วมโครงการ Smart Teacher ฟินแลนด์โมเดล โดยนำมาปรับปรุงวิธีการเดิมที่ปกติจะให้เด็กอ่านหรือ comment เพื่อน เด็กก็จะพูดในเชิงบวกมาก เพื่อนเขียนดี เพื่อนเล่าดี ตัวละครดี จะดีไปหมดทุกอย่าง จึงปรับปรุงให้ลองเสนอข้อเสียของเพื่อนมาบ้าง มันก็จะมีแค่สองแง่ คือข้อดีกับข้อเสีย จึงได้ปรับปรุงให้ทุกคนสวมหมวก 6 สี ดังนี้
หมวกใบที่ 1 สีแดง จะต้องเขียน comment ด้วยอารมณ์และความรู้สึก เช่น คุณอ่านไปปุ๊บคุณรู้สึกยังไง
หมวกใบที่ 2 สีดำ : จะต้องมีข้อคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เพื่อนเขียน
หมวกใบที่ 3 สีขาว : จะต้องมีความเป็นนักวิชาการอาจเล่าเรื่องข้อมูลข่าวสารอะไรที่เป็นองค์ความรู้
หมวกใบที่ 4 สีเหลือง : จะเป็นคนมองโลกในแง่ดีพูดอะไรชมไปก่อนมองโลกในแง่ดีมากถ้าไม่ดีก็ให้กำลังใจ
หมวกใบที่ 5 สีเขียว : จะเป็นคนที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ อาจจะ comment ว่าเพื่อนสร้างสรรค์ดีมาก หรือ อาจจะเป็นข้อเสนอแนะว่า คุณลองทำอย่างนี้ดูสิ อาจจะดีขึ้นนะ
หมวกใบที่ 6 สีฟ้า : จะเป็นคนพูดภาพรวม ว่าเพื่อนเป็นยังไงบ้าง
ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมมากกว่านั้นคือ การให้เกณฑ์คะแนน สมมุติว่าใน 5 คะแนนนั้นต้องการให้นักศึกษา ส่ง 2 คะแนนเรื่องอะไร ข้อหนึ่งเป็นเรื่องอะไร ให้นักศึกษาให้คะแนนเพื่อนเลยในแต่ละคน มันก็จะเท่ากับว่า คนนี้ต้องให้คะแนนแทนเราได้บ้าง เราอาจจะไม่ได้ว่างนักที่จะต้องอ่านทุกอย่าง แต่เราอาจจะดูคะแนนเฉลี่ยภาพรวม
ในสิ่งที่ได้พบคือ นักศึกษาสามารถ comment ได้ค่อนข้างดี จากนั้นก็จะนำ comment ทั้ง 6 คนนี้ กลับไปให้เจ้าของได้อ่านว่าที่เพื่อน comment มาแบบนี้เป็นยังไงบ้าง และเพื่อนส่วนใหญ่ให้คะแนนเท่าไร แล้วอาจารย์จะรวบรวมกระดาษแผ่นนั้นไว้ แล้วมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ปัญหาที่พบในการใช้เทคนิคนี้ คือการบริหารจัดการเวลา เช่น สัปดาห์นี้ให้นักศึกษาไปทำงานมาส่งในสัปดาห์หน้า แต่ต้องสอนเนื้อหาถัดไป ก็จะต้องกำหนดเวลาให้ทำกิจกรรมนี้ชั่วโมงครึ่งเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้วนรวมกันผลัดกันในการสวมหมวกถึง 6 ใบ ในแต่ละคน
ข้อเสียอีกประการหนึ่งก็คือ หากมีเนื้อหาที่จะต้องสอน จะจัดการได้ค่อนข้างยากเพราะต้องตรวจการบ้านเก่าและสอนเรื่องใหม่และให้การบ้านใหม่ แล้วตรวจในสัปดาห์ถัดไป แต่สิ่งได้ทำจริงทำให้ค้นพบว่า มันช่วยลดภาระในการตรวจงานได้ค่อนข้างเยอะพอสมควรในรายวิชานี้ แต่สิ่งที่แก้ปัญหาไม่ได้บางอย่างเช่น การทำ workshop ส่งในคอม Facebook ก็ยังเกิดปัญหาเหมือนกัน แต่ว่าในส่วนนี้เป็นข้อเขียนลงกระดาษช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ค่อนข้างมาก
สรุปเทคนิควิธี
- จัดกลุ่ม 6 คนให้นักศึกษาสมมุติบทบาทเป็นผู้วิจารณ์ผลงานใน 6 บทบาทตามสีหมวก
- วนให้ครบทุกกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น และให้คะแนนตามเกณฑ์ที่อาจารย์กำหนด
- นำข้อเสนอแนะที่ได้ทั้งหมด กลับไปให้เจ้าของผลงานพิจารณา
- อาจารย์รวบรวมและพิจารณาคะแนนอีกครั้งตามความเหมาะสม
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
- การใช้เทคนิคสวมหมวก 6 สี
- การเข้าร่วมโครงการ Smart Teacher ฟินแลนด์โมเดล
- การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
- การบริหารจัดการเวลาในการสอน