กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการวิจัย
ภายใต้ประเด็น เทคนิคการเผยแพร่งานวิจัย ครั้งที่ 4
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อเทคนิคการเผยแพร่งานวิจัย เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 ได้รับเกียรติวิทยากรภายในหน่วยงาน ทำหน้าที่เป็น Facilitator และ Note Taker ประกอบด้วย ผศ.ดร.ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร ดร.สุรชัย ขันแก้ว นางสาวเบญนภา ชาติเชื้อ นางสาววรรณชนก สุนทร และ นางสาวกุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร รวมทั้งสิ้น 5 ท่าน โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิน 14 ท่าน ซึ่งการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น 9 เรื่อง
ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ได้ร่วมประชุมที Facilitator เพื่อสรุปความรู้ไว้ทั้งหมด 6 หมวดหมู่โดยสามารถจำแนกได้ตามหมวดคือ หมวดหมู่การเลือกแหล่งเผยแพร่ 3 เรื่อง ประกอบด้วย การพิจารณาวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ก้าวทีละขั้นสู่จุดสูงสุด และ ร่วมเครือข่ายนักวิจัย สมัครเว็บไซต์ Conference Alert หมวดหมู่เครือข่ายนักวิจัย 2 เรื่อง ประกอบด้วย สะสมเนื้องานลองให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์ และ ร่วมงานวิจัยด้วยความสามารถที่มี หมวดหมู่การเขียนบทความ จำนวน 2 เรื่อง ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษไม่ดีมีตัวช่วย และการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ หมวดหมู่อื่นๆ 2 เรื่อง ประกอบด้วย ภาพช่วยได้ท่าประกอบช่วยด้วย และ เมื่อแหล่งทุนสนใจเราก็จะวิจัย
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ มีผู็กล่าวถึงเรื่องที่สอดคล้องกันเช่น ร่วมเครือข่ายนักวิจัย สมัครเว็บไซต์ Conference Alert โดย ผศ.รัตติกาล เจนจัด ได้ใช้เทคนิคที่สอดคล้องกับ เรื่องอัพเดทความรู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ซึ่ง ผศ.ดร.ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร ได้กล่าวไว้ในการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 2 เรื่องการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์อ โดยอาจารย์กุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร ได้ใช้เทคนิคการเขียนหมวดทั้ง 5 ของบทความวิจัย ซึ่งผศ.ดร.ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร ได้เล่าเรื่องไว้ในการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 1
หมวดหมู่ : การเลือกแหล่งเผยแพร่ 3 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
การพิจารณาวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ |
1. ต้องมีการวางแผน ซึ่งจะพิจารณาตามกระบวนการเฉพาะ ของวารสารที่ต้องการส่งงานตีพิมพ์
2. จะต้องพิจารณา ฐานของวารสารวิชาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการตรวจสอบฐาน สามรถตรวจสอบได้จาก Google โดยใช้คำค้น TCI (Thailand citation index) จะพบการจัดอันดับรายปีไว้
3. การวางโครงร่างเนื้อหา ควรใช้วิธีการอ่านบทความวิชาการหรือ Journal ที่ต้องการส่งงานตีพิมฑ์ ซึ่งสิ่งที่จะต้องศึกษาคือ รูปแบบการเขียน และบรรณาธิการ เพื่อปรับปรุงวิธีการเขียนของเราให้สอดคล้อง |
1. การวางแผนตามกระบวนการเฉพาะของวารสาร
2. ฐานของวารสารวิชาการ
3. การวางโครงร่างเนื้อหา |
ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร, กระบวนการตีพิมพ์ของวารสาร, ฐานของวารสารวิชาการ, การตรวจสอบฐานของวารสาร, TCI |
ก้าวทีละขั้นสู่จุดสูงสุด |
1. เริ่มต้นด้วยการตีพิมพ์ภายในประเทศ แล้วค่อยๆ เรียนรู้ในแต่ละแบบไปเรื่อยๆ
2. หาโอกาสในเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และศักยภาพของตนเอง
3. สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการไปนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อหาวิธีการ สถานที่ให้ดีขึ้น |
1. การใฝ่เรียนรู้
2. เครือข่ายนักวิจัย |
สุรชัย ขันแก้ว, การตีพิมพ์ผลงานวิจัย, เริ่มตีพิมพ์ |
ร่วมเครือข่ายนักวิจัย สมัครเว็บไซต์ Conference Alert |
1. สร้างเครือข่ายภายนอก โดยการไป Conference ที่ต่างประเทศ
2. ศึกษา ติดตาม การจัดงานนำเสนอผลงานวิชาการ ผ่านเว็บไซต์ Conference Alert
3. สร้างเครือข่ายจากสถานศึกษาเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิควิธีการเขียนขอทุนวิจัย
4. การส่งงานวิจัยตีพิมพ์ หากใช้ระยะเวลานานเกินไป ให้ใช้วิธีการ Conference |
1. เครือข่ายนักวิจัย
2. เว็บไซต์ Conference Alert
3. การติดตามสถานะการณ์ |
รัตติกาล เจนจัด, เครือข่ายนักวิจัย, Conference Alert, การพัฒนางานวิจัย, สร้างพลังบวกด้วยการเดินทาง, Conference |
หมวดหมู่ : เครือข่ายนักวิจัย 2 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
สะสมเนื้องานลองให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์ |
1. สะสมเนื้องานเรื่อยๆ
2. เมื่อมีผลระหว่างการทดลองที่นอกเหนือวัตถุประสงค์ ให้ไปนำเสนอ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์งาน
3. เมื่อได้ไอเดียใหม่ๆ ให้นำมาพัฒนางาน
4. การทดลองบางอย่าง อาจใช้วิธีจ้างห้องทดลองภายนอกทำให้
5. อ่าน Paper แบบคร่าวๆ เพื่อค้นหาแนวคิด และเทคนิคใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางวิจัย แล้วลองนำมาเป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาได้ทดลอง
6. ติดต่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นมาเป็นผู้ร่วมวิจัยเพื่อสร้างโอกาสในการนำเสนองานวิจัย
7. สะสมเนื้องานไว้ก่อน เมื่อถึงปีงบประมาณ ให้เขียนขอทุนวิจัย จากงานที่ได้ทำไว้แล้ว |
1. การสะสมเนื้องาน
2. ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์งาน
3. อ่าน Paper
4. อาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่น |
สุรชัย ขันแก้ว, จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ, การสะสมเนื้องาน, Conference, การทดลองเชิงวิจัย, ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมิน, การพัฒนางานวิจัย, อ่าน Paper, ติดต่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นมาเป็นผู้ร่วมวิจัย, ขอทุนวิจัยย้อนหลัง |
ร่วมงานวิจัยด้วยความสามารถที่มี |
มีส่วนร่วมในงานวิจัยในด้านที่มีความถนัด |
ความสามารถในการเขียนโปรแกรม |
ชิรพงษ์ ญานุชิตร, การเขียนโปรแกรมเพื่อสนับสนุนงานวิจับ |
หมวดหมู่ : การเขียนบทความ 2 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ |
1. ศึกษาการตีพิมพ์บทความทางวิชาการ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
1.1 หากเลือกตีพิมพ์บทความทางวิชาการ ต้องมีข้อมูลในเรื่องนั้นมากพอที่จะสามารถเขียนเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ได้ หรือนำข้อมูลมากลั่นกรองวิเคราะห์ในหัวข้อที่เราสนใจ ซึ่งไม่เกี่ยวกับงานวิจัยของเราก็สามารถเขียนได้
1.2 หากเลือกตีพิมพ์บทความวิจัย คือต้องมีผลงานวิจัย เราจึงจะสามารถเขียนรายงานวิจัยออกมาได้
2 การเขียนบทความวิชาการจะต้องเขียนให้เป็นเนื้อหาของเราโดยมีบทความอื่นๆ คอยสนับสนุน ภาษาต้องเป็นภาษาเราต้องศึกษาเรื่องนั้นมากพอสมควร |
1. การมีที่ปรึกษาที่ดี
2. การได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยด้วยกัน ได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และคนอื่นๆ
3. การมีเครือข่ายจากสถานศึกษาที่สำเร็จมา
4. การเตรียมตัวที่ดี |
กุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร, เครือข่ายนักวิจัย, การตีพิมพ์บทความทางวิชาการ |
ภาษาอังกฤษไม่ดีมีตัวช่วย |
ควรมีการตรวจภาษาที่ใช้ในการเขียน ซึ่งสามารถใช้ คลินิควิจัย ของมหาวิทยาลัย แต่หากจำเป็นเร่งด่วน อาจใช้วิธีการจ้างหน่วยงานภายนอก |
การบริหารจัดการ |
จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ, ตีพิมพ์ต่างประเทศ ,สำนักพิมพ์Wiley , การเผยแพร่งานวิจัยต่างประเทศ |
หมวดหมู่ : อื่นๆ 2 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
ภาพช่วยได้ท่าประกอบช่วยด้วย |
1. สร้างแรงจูงใจจากการเดินทางท่องเที่ยว
2. เตรียมเนื้อหาที่มีภาพประกอบให้เข้าใจ
3. นำเสนอด้วยท่าทางและภาษามือประกอบ |
1. เครือข่ายนักวิจัย
2. การเตรียมเนื้อหา
3. ออกแบบภาพประกอบ
4. ภาษามือ |
สุชาดา คันธารส, Conference, ACA, เที่ยวเชียงใหม่, การออกแบบ Logo, เน้นภาพประกอบ, เตรียมเนื้อหาให้ดีที่สุด, ใช้ท่าประกอบการนำเสนอ, การพัฒนางานวิจัย, เครือข่ายนักวิจัย |
เมื่อแหล่งทุนสนใจเราก็จะวิจัย |
1. ศึกษาประเด็นที่กลุ่มทุนวิจัยให้ความสำคัญให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
2. เลือกหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครทำ |
การรู้จักความสนใจของแหล่งทุน |
นวพรรษ การะเกตุ, วช., ศึกษาประเด็นที่กลุ่มทุนวิจัยให้ความสำคัญ |