กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการวิจัย
ภายใต้ประเด็น เทคนิคการเผยแพร่งานวิจัย ครั้งที่ 1
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อเทคนิคการเผยแพร่งานวิจัย เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2562 ได้รับเกียรติจากวิทยากรภายในหน่วยงาน ทำหน้าที่เป็น Facilitator และ Note Taker ประกอบด้วย ผศ.ดร.ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร ดร.สุรชัย ขันแก้ว นางสาวเบญนภา ชาติเชื้อ นางสาววรรณชนก สุนทร และ นางสาวกุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร รวมทั้งสิ้น 5 ท่าน โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิน 14 ท่าน ซึ่งการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น 10 เรื่อง
ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ได้ร่วมประชุมที Facilitator เพื่อสรุปความรู้ไว้ทั้งหมด 6 หมวดหมู่คือ การเผยแพร่ระหว่างวิจัย การเลือกแหล่งเผยแพร่ เครือข่ายนักวิจัย ทางเลือกสร้างผลงาน การเขียนบทความ และอื่นๆ ซึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 สามารถสรุปและจำแนกเรื่องเล่าได้ตามหมวดคือ หมวดหมู่การเลือกแหล่งเผยแพร่ 1 เรื่องประกอบด้วย เลือกหัวข้อที่ชอบเผยแพร่ในวารสารที่ใช่ หมวดหมู่เครือข่ายนักวิจัย จำนวน 4 เรื่องประกอบด้วย คบนักวิจัยพาไปตีพิมพ์ ไปเที่ยวเดี๋ยวช่วย ช่วยทีเดี๋ยวพี่พาไปญี่ปุ่น และครอบครัวนักวิจัย หมวดหมู่ทางเลือกสร้างผลงาน 1 เรื่อง ประกอบด้วย ไม่มีงานวิจัยก็สามารถตีพิมพ์ได้ หมวดหมู่การเขียนบทความ 1 เรื่องประกอบด้วย การเขียนหมวดทั้ง 5 ของบทความวิจัย และหมวดหมู่อื่นๆ 3 เรื่อง แรงใจจากการไป Conference ก้าวข้ามความกลัว วิจัยพาไปเที่ยว
หมวดหมู่ : การเลือกแหล่งเผยแพร่ 1 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
เลือกหัวข้อที่ชอบเผยแพร่ในวารสารที่ใช่ |
1. ต้องมีงานวิจัย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ ได้รับหรือไม่ได้รับทุนวิจัย ก็สามารถเผยแพร่ได้
2. งานวิจัย จะต้องตรงกับสายงานไม่ข้าม Field มีความเฉพาะทาง ไม่กว้างจนเกินไป
3. ข้อควรพิจารณาในการการเลือก Journal เพื่อเผยแพร่งานวิจัย คือ ต้องพิจารณา Impact Factor และ Field ที่ตรงกับสายงาน
4. การเขียนงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ใน Journal จะต้องอ้างอิงรูปแบบจาก Paper ของ Journal นั้น ๆ |
1. ต้องมีงานวิจัยที่มีคุณภาพ ตรง Field
2. ศึกษางานวิจัยที่เผยแพร่ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ
3. ความมุ่งมั่นและความตั้งใจ
4. การบริหารจัดการ
5. การอ้างอิงบทความวิจัย Journal ที่ต้องการตีพิมพ์ |
จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ, การพิจารณาวารสารม, การเผยแพร่งานวิจัย ,การเผยแพร่งานวิจัยต่างประเทศ |
หมวดหมู่ : เครือข่ายนักวิจัย 4 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
คบนักวิจัยพาไปตีพิมพ์ |
การทำงานร่วมกับผู้รู้ด้านการวิจัย ซึ่งสามารถช่วยเหลือ บอกกล่าวข้อมูล และสร้างแรงผลักดันในการทำงานวิจัย
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
การทำงานร่วมกับคนอื่นๆ |
กานต์พิชชา สุวรรณวัฒนเมธี, เครือข่ายนักวิจัย |
ไปเที่ยวเดี๋ยวช่วย |
1. สร้างแรงจูงใจจากการเดินทาง
2. เตรียมตัวอย่างหนัก เพื่อให้พร้อมต่อการนำเสนอ |
1. เครือข่ายนักวิจัย
2. ความพยายาม |
สุวัฒน์ พื้นผา, จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ, สร้างแรงจูงใจจากการเดินทาง, ความพยายาม |
ช่วยทีเดี๋ยวพี่พาไปญี่ปุ่น |
การช่วยเหลือนักวิจัยเพื่อให้ได้มีส่วนร่วมงานวิจัย |
เครือข่ายนักวิจัย |
อัครเดช ทองสว่าง, อุรวิศ ตั้งกิจวิวัฒน์, เครือข่ายนักวิจัย |
ครอบครัวนักวิจัย |
1. หาโอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการให้มากที่สุด
2. เริ่มต้นโดยการเป็นผู้ช่วยนักวิจัย
3. พิจารณาประโยชน์ของงานวิจัย
4. หาโอกาสไปนำเสนอผลงานภายนอกเพื่อสร้างเครือข่าย |
1. การมีที่ปรึกษาที่ดี
2. โอกาสในการเข้าร่วมประชุมวิชาการ
3. การมีเครือข่ายจากสถานศึกษาที่สำเร็จมา |
กุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร, เครือข่ายนักวิจัย, ครอบครัวนักวิจัย |
หมวดหมู่ : ทางเลือกสร้างผลงาน 1 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
ไม่มีงานวิจัยก็สามารถตีพิมพ์ได้ |
การตีพิมพ์ผลงานวิจัย ต้องมีงานวิจัยก่อน แต่หากไม่มีงานวิจัยของตนเอง สามารถใช้ทางเลือกการสำรวจวรรณกรรม ซึ่งเป็นงานตีพิมพ์ประเภท Literature review สามารถตีพิมพ์ได้ |
การสำรวจวรรณกรรม |
ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร, การสำรวจวรรณกรรม, Literature review, บทความวิชาการ |
หมวดหมู่ : การเขียนบทความ 1 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
การเขียนหมวดทั้ง 5 |
การเขียนบทความวิจัย มีประมาณ 5 หมวด เช่น บทนำ ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา ต้องวางแผนเขียนให้ดี ไม่ควรเขียนแบบ Abstract ว่ารายงานเป็นอะไร ต้องวางโครงร่าง
1 การเขียนความสำคัญของปัญหา ให้เขียนมุ่งไปที่วัตถุประสงค์
2 การเขียนระเบียบวิธีวิจัย Methodology ต้องเขียนสรุป ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงการออกแบบงานวิจัยจะวัดค่าอะไรบ้าง
3 การเขียนผลของการวิจัยจะต้องกระชับผล ไม่ใช่เอาผลทุกอย่างมาตอบ ถามเรื่องอะไรเราตอบเรื่องนั้น โดยใช้วัตถุประสงค์หลัก
4 การเขียนสรุป เป็นการสรุปผลทั้งหมดของงานวิจัย โดยปกติจะเขียนไว้ 15 หน้า แต่ถ้าเป็นสายสังคมศาสตร์อาจจะถึง 20 หน้า |
การวางโครงร่างเนื้อหา |
ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร, การเขียนบทความวิจัย, การเขียนความสำคัญของปัญหา, การเขียนวัตถุประสงค์, การเขียนระเบียบวิธีวิจัย, การเขียนผลของการวิจัย, การเขียนสรุป, การวางโครงร่างเนื้อหา |
หมวดหมู่ : อื่นๆ 3 เรื่อง
ชื่อเรื่อง |
วิธีการ / รายละเอียด |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
Keywords |
แรงใจจากการไป Conference |
เข้าร่วมประชุมวิชาการเพื่ออัพเดทข้อมูล และนวทาสงการทำงานวิจัย เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นต่อการพัฒนางานวิจัย
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
การเข้าร่วมประชุมวิชาการ |
ชนิดา ศักดิ์สิริโกศล, ผลจากการเผยแพร่งานวิจัย, การพัฒนางานวิจัย |
ก้าวข้ามความกลัว |
1. ไปเข้าร่วมงาน Conference ที่สนใจ เผื่อดูรูปแบบงาน เปิดโลกทรรศน์
2. ไปนำเสนอผลงานของตนเอง โดยเฉพาะการนำเสนอแบบ Oral Presentation |
ความกล้า |
เบญนภา ชาติเชื้อ, ผลจากการเผยแพร่งานวิจัย, ก้าวข้ามความกลัว, Oral Presentation |
วิจัยพาไปเที่ยว |
1. การเข้าร่วมเครือข่ายนักวิจัยเพื่อรับทราบข่าวสาร
2. ใช้การเดินทางเป็นแรงผลักดัน |
1. เครือข่ายนักวิจัย
2. การเดินทาง |
วรรณชนก สุนทร, ศักดา ส่งเจริญ, การเดินทาง, เครือข่ายนักวิจัย |