ด้วยความสอดคล้องของหลักสูตรที่เรียนทั้งในระดับปริญญาตรีโทและเอกซึ่งเป็นสายวิทยาศาสตร์ มีการทำวิจัยให้ต้องเผยแพร่ตลอด และต้องมีผลงานตีพิมฑ์และเมื่อจบปริญญาโทก็ได้ใช้เทคนิคเดียวกันกับ ผศ.ดร.จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ ที่ได้แนะนำวิธีการสะสมเนื้องาน ซึ่งสามารถส่ง Conference ทุกปี แต่ไม่ได้ส่งในระดับนานาชาติ เนื่องจากยังไม่เก่งภาษาอังกฤษ โดยทุกคครั้ง จะไปนำเสนอเอง แต่ถ้าเป็น Poster จะให้ นักศึกษาที่ร่วมงานวิจัย ไปนำเสนอ
เมื่อถึงในระดับปริญญาเอก ได้ถูกบีบบังคับให้ทำการทดลองเชิงวิจัย ซึ่งในระหว่างกระบวนการวิจัยอาจมีบางส่วนที่มีผลการทดลองที่ไม่ทับซ้อนกับงานบางส่วนที่นำเสนอ เช่นบางงานที่ทำไปในวัตถุประสงค์พบว่า มีเนื้องานบางงานมันไม่ตรงกัน ก็สามารถนำส่วนนี้ไปนำเสนอ ซึ่งการไปนำเสนอ เปรียบเสมือนกับการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมิน ซึ่งจะได้ไอเดียมาใช้ในการพัฒนางานตัวเอง ซึ่งสะสมเป็นเนื้องานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบปริญญาเอก ก็เผยแพร่ไปร่วม 14 งาน
ในส่วนของการพัฒนางานวิจัย จะใช้วิธีการอ่าน Paper ซึ่งไม่ได้อ่านทั้งหมดอ่านแบบคร่าวๆ เพื่อศึกษาในส่วนที่สนใจ ซึ่งหากพบเรื่องที่สามารถมาพัฒนาต่อได้ และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ก็จะลองมาเป็นกรณีศึกษาให้เด็กนักศึกษาได้ทดลอง ซึ่งก็จะสามารถสะสมเป็นเนื้องานไป ซึ่งงานบางงาน อาจใช้วิธีจ้าง ห้องทดลองภายนอกทำให้ ซึ่งสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน
การเลือก Conference ที่เกี่ยวข้องกับงาน ซึ่งงาน Conference ใหญ่ๆบางงาน จะรับเฉพาะมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาคือการติดต่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นมาเป็นผู้ร่วมวิจัย
ในการขอทุนวิจัย อาจใช้วิธีการทำวิจัยล่วงหน้าและเมื่อถึงเวลาให้เขียนของบวิจัย เช่น ต้องการของบประมาณปี 63 จะมีการวางแผนการทำงาน และทำให้เสร็จตั้งแต่ปี 61,62 เรียบร้อย พอมีทุนวิจัยจึงเขียนขอย้อนหลัง
สรุปเทคนิควิธี
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ