
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการวิจัย 2561 ครั้งที่ 4
3 เมษายน 2019
การเขียนหมวดทั้ง 5 ของบทความวิจัย
20 เมษายน 2019จากการดำเนินการสอนในห้องเรียน กับกลุ่มนักศึกษา ได้ ทดลองใช้ Google Application กับการจัดการเรียนการสอน และได้เผยแพร่วิธีการให้กลุ่มเพื่อนอาจารย์ในคณะได้นำไปทดลองใช้ พบว่า มีประสิทธิภาพในการช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง ผู้เล่า ได้นำ Google Application ไปประยุกต์กับการจัดการเรียนการสอนในด้านต่างๆดังนี้
- ใช้ Google Sheet เป็นแหล่งเก็บรวบรวมคะแนนเก็บต่างๆ และ แชร์ ให้ผู้เรียน สามารถเข้ามาตรวจสอบติดตามผลคะแนนงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ผ่าน Facebook กลุ่มที่ได้สร้างไว้
ในหน้ารวมคะแนน ผู้สอน ได้เขียน ฟังก์ชั่น การพยากรณ์เกรด ให้นักศึกษาได้เห็นถึงผลการเรียน ที่อาจได้รับในอนาคต ตามคะแนนเก็บที่มีในปัจจุบัน ผลที่ได้รับคือ นักศึกษา สนใจในคะแนนที่ได้ มีการเข้ามาสอบถาม ถือคะแนนที่ได้จากงาน ว่า ทำไมได้เท่านั้น เท่านี้ ส่งผลให้เกิดการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และ ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ไม่มีการร้องเรียน การให้คะแนน และนักศึกษายอมรับในผลการเรียนที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยการตัดเกรดที่แท้จริง จะเป็นลักษณะของการจัดให้ลงใน Normal Curve ซึ่งผู้สอนต้องอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจ และโดยปกติแล้ว เกรดที่ได้ มักจะไม่ต่างจากพยากรณ์มากนัก
ในการเชคชื่อการเข้าเรียน ผู้สอน ได้เชคชื่อให้เห็นโดยการนำขึ้นจอ Projector เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นสถานะการเข้าเรียน และเปิดให้เห็นคะแนนเก็บ ต่างๆ รวมถึงคะแนนงานที่ส่ง และ เห็นว่า ขาดเรียนกี่ครั้งและจะอยู่ในสถานะไม่มีสิทธิ์สอบหรือไม่ โดยผลที่ได้คือ นักศึกษา มีความกระตือรือร้นมาก ในการทวงสิทธิ์ กรณีที่อาจารย์เชคชื่อพลาด
ผลที่เกินความคาดหมาย คือ สามารถใช้เป็นช่องทางให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ติดตามผลคะแนน ติดตามการเข้าเรียน ของนักศึกษาในที่ปรึกษาได้ เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนแก้ปัญหาผลการเรียนของนักศึกษาที่อยู่ในสถานะใกล้พ้นสภาพได้
- ใช้ Google Form เป็นช่องทางในการวัดผลความรู้ระหว่างเรียน ในการดำเนินการสอน ผู้สอน ได้ประยุกต์ใช้ Google Form เป็นแบบประเมินความรู้ 3 ช่วง คือ ก่อนเรียน จะทำการวัดผลความรู้ 5 ข้อ โดยวัดความเข้าใจจากเนื้อหาที่ผ่านมา ระหว่างเรียน ได้นำมาใช้ร่วมกับเทคนิค one minute paper และวัดความรู้ระหว่างเรียนในรูปแบบการตอบคำถาม โดยให้เวลาตอบ และแสดงผลคะแนนที่ได้ ในขณะนั้น ผลที่ได้คือ นักศึกษา มีความจดจ่อกับเนื้อหาที่เรียน เนื่องจากเห็นผลคะแนนที่ได้ และผลต่อตัวผู้สอนคือ ช่วยลดเวลาการตรวจงาน ได้เป็นอย่างดี และ นักศึกษาไม่ออกไปนอกห้องเลย ในระหว่างการสอน ซึ่ง ผู้สอน จะบอกเวลาเบรค ที่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ หลังเรียน คือ ผู้สอน สามารถนำมาใช้ในการออกข้อสอบออนไลน์ เพื่อลดเวลาในการตรวจข้อสอบ และ การรวมคะแนน
การให้นักศึกษาเข้าถึงแบบทดสอบจะใช้วิธีการทำ QR Code ไว้ที่ส่วนหัวของแบบทดสอบ แล้วเปิดให้นักศึกษา Scan ด้วย Smart Phone
ปัญหาที่พบคือ นักศึกษาบางท่าน สามารถส่ง Link ให้เพื่อนที่ไม่ได้เข้าเรียน ทำแบบทดสอบ ซึ่ง ผู้สอน ต้องตรวจสอบผลคะแนน กับผลการเข้าเรียนให้สอดคล้องกัน ถ้าพบความผิดปกติ ให้เรียกมาพูดคุย
ผลที่เกินความคาดหมาย คือ นักศึกษามีความสนใจในการตอบคำถาม และสนใจในผลคะแนนมาก มีเสียงหยอกล้อ พูดคุย สนุกสนาน และ ผู้สอน ได้เห็นถึวข้อที่นักศึกษาตอบผิดเป็นจำนวนมากน้อย เพื่อวัดความเข้าใจในแต่ละหัวข้อได้
สรุปเทคนิควิธี
ผู้เล่า ได้เลือกแนวปฏิบัติที่ดีในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ และมีการใช้งาน Smart Phone เป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสาร โดย สื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้ คือ Facebook ซึ่ง ผู้สอน ใช้เป็นสื่อกลางในการส่งผ่านความรู้ ส่งผ่านผลการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ติดตามผลคะแนน เพื่อสร้างแรงกระตุ้นความสนใจในการเรียน โดยใช้ Google Application เป็นเครื่องมือในระหว่างการจัดการเรียนการสอน โดยผลที่ได้คือ นักศึกษา มีอัตราการขาดเรียน ลดลง และมีความสนใจในการเรียน มากขึ้น
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
- ความรู้ความเข้าใจในการใช้ Google Application ทั้งในส่วนของ Google Sheet ซึ่งมีพื้นฐานจากการใช้ Microsoft Excel และการใช้ Google Form ในการทำเป็นแบบสอบบถาม
- การให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน เพื่อลดช่องว่าง ระหว่างผู้เรียน กับ ผู้สอน ให้ความรู้ สามารถเดินทางส่งผ่านได้ง่ายขึ้น
- การเปิดใจยอมรับในสิ่งใหม่ การยอมรับในวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี
4. การไม่ยึดติดการเรียนการสอนแบบ ผู้สอน เป็นใหญ่ คะแนน เป็นสิ่งลึกลับ ยากต่อการค้นหา