คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566
2 กรกฎาคม 2023เทคนิคการพัฒนาปริญญานิพนธ์สู่การตีพิมพ์วารสารวิชาการ ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จากการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2565
4 กรกฎาคม 2023การลดปริมาณงานเพื่อเพิ่มศักยภาพผลงานของนักศึกษา
ด้วยเทคนิคการสอนรูปแบบ MCT Model
จากการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2565
จากการจัดการความรู้ ด้านการผลิตบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี ในประเด็น “การลดปริมาณงานเพื่อเพิ่มศักยภาพผลงานของนักศึกษาด้วยเทคนิคการสอนรูปแบบ MCT Model” ตลอดปีการศึกษา 2565 คณาจารย์สามารถสรุปเทคนิคการสอนรูปแบบ MCT Model ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้ดังต่อไปนี้
- 1. รูปแบบการสอน MCT Model ในการบูรณาการรายวิชา ประกอบด้วย
1.1 การบูรณาการนักศึกษาชั้นเดียวกัน กับหลายวิชา
1.2 การบูรณาการร่วมกับชุมชน/สถานประกอบการ
- การเตรียมการสอน
2.1 การวิเคราะห์ปัญหา และพิจารณาปัญหาร่วมกัน
2.2 ติดต่อประสานงานชุมชน สถานประกอบการ (ถ้ามี)
2.3 วางแผนและกำหนดเป้าหมายของอาจารย์ผู้สอนที่รับผิดชอบรายวิชา
2.4 พิจารณาโจทย์งานให้เหมาะสมกับรายวิชา และการบูรณาการกับชุมชน/สถานประกอบการ
2.5 พิจารณาถึงขอบเขตงานแต่ละรายวิชา และสัดส่วนการให้คะแนน การวัดผลแต่ละวิชาอย่างชัดเจน
- บทบาทอาจารย์ผู้สอน
3.1 ประสานงานกับสถานประกอบการ
3.2 อาจารย์มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (Consultant)
3.3 ดูแลประสานงานระหว่างนักศึกษาและชุมชนตลอดโครงการ
3.4 จัดกิจกรรมให้นักศึกษารายงานความก้าวหน้าการทำงานและนำเสนอแนวความคิด
ของทุกกลุ่ม
- สิ่งที่ต้องเตรียม
4.1 การบูรณาการรายวิชา เพื่อการทำโครงการในระดับต่าง ๆ
4.2 การเตรียมโครงการต่าง ๆ ในการเรียนการสอน
4.3 การเตรียมวัสดุ และห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
4.4 เกณฑ์การประเมินผลงานนักศึกษา
- 5. เทคนิคการบูรณานักศึกษาชั้นเดียวกันกับหลายวิชา
5.1 พิจารณาแบ่งสัดส่วนและเนื้อหาแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับลักษณะโครงงาน
5.2 ควรให้โจทย์งานกับนักศึกษาไม่เกิน 8 สัปดาห์แรก และพิจารณาให้เวลาการทำงานกับนักศึกษาอย่างเพียงพอ
5.3 กำหนดวันให้โจทย์โครงงานกับนักศึกษาพร้อมกัน พร้อมทั้งกำหนดวันนำเสนองาน (Pitching) เกณฑ์การพิจารณา
5.5 นักศึกษานำเสนอโครงงานกับอาจารย์ประจำรายวิชา
- 6. เทคนิคการบูรณาการร่วมกับชุมชน/สถานประกอบการ
6.1 พิจารณารายวิชาให้สอดคล้องกับปัญหาของชุมชน/สถานประกอบการ
6.2 ควรให้โจทย์งานกับนักศึกษาไม่เกิน 8 สัปดาห์แรก และพิจารณาให้เวลาการทำงานกับนักศึกษาอย่างเพียงพอ
6.3 อธิบายรายละเอียดงาน การแบ่งกลุ่มและแจ้งหน้าที่ในการทำงานแก่นักศึกษาในแต่ละรายวิชา นักศึกษาสามารถกลับมาทบทวนได้เสมอ
6.4 กำหนดวันให้โจทย์งานกับนักศึกษา และหรือวันนำเสนองาน/โครงงานร่วมกับชุมชนหรือสถานประกอบการ
6.5 ให้นักศึกษารายงานความก้าวหน้าการทำงานและนำเสนอแนวความคิดของทุกกลุ่ม จากนั้นอาจารย์เสนอความคิดเห็นและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
6.6 วันนำเสนองาน/โครงงาน ให้ชุมชนหรือสถานประกอบการเป็นผู้ร่วมประเมินผลงานของนักศึกษา
- 7. ข้อแนะนำการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ (MCT Model)
7.1 โจทย์งานของ MCT Model ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชามุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง
7.2 ขอบเขตในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างรายวิชากับชุมชน / สถานประกอบ มีระยะเวลาไม่เกิน 15 สัปดาห์
7.3 ควรกำหนดขอบเขตและคุณภาพของงานร่วมกัน
7.4 การบูรณาการจะกำหนดจากชุมชนหรือสถานประกอบการ และสามารถบูรณาการได้ดังนี้
1) การบูรณาการจากโจทย์ ปัญหาความต้องการของชุมชน
2) การบูรณาการจากโครงการวิจัยของอาจารย์ที่ได้งบประมาณจากภายนอก
3) การบูรณาการจากโครงการบริการวิชาการของหลักสูตร หรือคณะ
- 8. ประโยชน์ของการสอนรูปแบบ MCT Model
8.1 มุมมองของอาจารย์
- อาจารย์ได้รับประสบการณ์จาการนำโจทย์/ปัญหา/ความต้องการขององค์กร ชุมชน
2) การบูรณาการการทำงานมากกว่า 1 รายวิชา ส่งผลให้อาจารย์ผู้สอนที่เป็นคนเดียวกันสามารถจัดการเวลาในการจัดการเรียนการสอนได้ดีขึ้น
8.2 มุมมองของนักศึกษา
1) นักศึกษาได้รับประสบการณ์การทำงานจริงร่วมกับสถานประกอบการ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา
2) ปริมาณงานของนักศึกษาลดลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น