การลดปริมาณงานเพื่อเพิ่มศักยภาพผลงานของนักศึกษา ด้วยเทคนิคการสอนรูปแบบ MCT Model จากการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2565
4 กรกฎาคม 2023ประกาศคณะกรรมการสรรหาหัวหน้าสาขาวิชา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
6 กรกฎาคม 2023เทคนิคการพัฒนาปริญญานิพนธ์สู่การตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
จากการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2565
จากการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในประเด็น “สำหรับเทคนิคการพัฒนาปริญญานิพนธ์สู่การตีพิมพ์วารสารวิชาการของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน” ตลอดปีการศึกษา 2565 คณาจารย์สามารถสรุปเทคนิคของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ได้ดังต่อไปนี้
- ขั้นตอนการจัดการรายวิชา
1.1 อาจารย์นำเสนอความเชี่ยวชาญกับนักศึกษา
1.2 อาจารย์แจ้งโควตากลุ่มที่สามารถรับได้ต่ออาจารย์ 1 คน
1.3 นักศึกษาเลือกสมัครกับอาจารย์ที่สนใจ
1.4 อาจารย์คัดเลือก และประกาศผล
1.5 นักศึกษาพัฒนาหัวข้อวิจัยร่วมกับอาจารย์ และทำการสอบหัวข้อปริญญานิพนธ์
1.6 อาจารย์ควบคุมดูแลพัฒนากระบวนการวิจัย และผลงานปริญญานิพนธ์
1.7 สอบความก้าวหน้า
1.8 อาจารย์ควบคุมดูแลกระบวนการวิจัย และผลงานปริญญานิพนธ์
1.9 สอบจบปริญญานิพนธ์
- เทคนิคการเลือกประเด็นหรือหัวข้อปริญญานิพนธ์
2.1 ประเด็นปริญญานิพนธ์อยู่ในกระแสที่น่าสนใจในสังคม
2.2 ควบคุมปริญญานิพนธ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานหลักวิชาการ
2.2.1 ในกรณีที่หัวข้อน่าสนใจอาจแนะนำให้นักศึกษาปรับกระบวนการศึกษาเพื่อให้ผลงานวิจัยมีคุณภาพ
2.2.2 ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น อัขราวิสุทธิ์, Turnitin เป็นต้น
2.3 ศึกษาวารสารที่เหมาะสมกับประเด็นปริญญานิพนธ์
กรณีที่ 1 อาจารย์นำปริญญานิพนธ์มาพัฒนาเป็นบทความ
- เทคนิคการเขียนบทความวารสารวิชาการจากผลงานปริญญานิพนธ์
3.1 ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจและสอดคล้องกับวารสาร
3.2 ศึกษารูปแบบการเขียนบทความของแต่ละวารสาร
3.3 ศึกษาบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ตอบรับในวารสาร เพื่อนำข้อมูลมาใช้อ้างอิง
3.4 เขียนบทความตามมาตรฐานหลักวิชาการ
3.5 ตรวจสอบความถูกต้องของภาษา และการอ้างอิง
3.6 ส่งบทความผ่านระบบของวารสาร
3.7 รอการตอบรับและแก้ไขตามเงื่อนไขของวารสาร
กรณีที่ 2 นักศึกษาร่วมพัฒนาปริญญานิพนธ์เป็นบทความ
- 4. เทคนิคการเขียนบทความวารสารวิชาการจากผลงานปริญญานิพนธ์
4.1 ส่งตัวอย่างบทความที่ใกล้เคียงให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาศึกษาเพิ่มเติม
4.2 ให้นักศึกษาร่างบทความตามรูปแบบ ประมาณ 15 – 25 หน้า
4.3 ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจและสอดคล้องกับวารสาร
4.4 ศึกษารูปแบบการเขียนบทความของแต่ละวารสาร
4.5 ศึกษาบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ตอบรับในวารสาร เพื่อนำข้อมูลมาใช้อ้างอิง
4.6 เขียนบทความตามมาตรฐานหลักวิชาการ
4.7 ตรวจสอบความถูกต้องของภาษา และการอ้างอิง
4.8 ส่งบทความผ่านระบบของวารสาร
4.9 รอการตอบรับและแก้ไขตามเงื่อนไขของวารสาร
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในคณะฯ
ภาพบรรยากาศอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา