การเขียนหมวดทั้ง 5 ของบทความวิจัย
20 เมษายน 2019การติดตามสถานะการณ์ผ่านเครือข่ายนักวิจัย และเว็บไซต์ Conference Alert
20 เมษายน 2019การตีพิมพ์งานวิจัยในปีที่ทำเสร็จ เป็นไปได้ยาก เนื่องจาก กระบวนการต่างๆ ต้องใช้เวลา โดยเฉพาะ การรีวิว อาจจะใช้ระยะเวลาถึง 6 เดือน บางที 1 ปี แต่ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 4 – 8 เดือน ซึ่งงานวิจัย 1 ชิ้น ไม่จำเป็นต้องจบแล้วถึงเขียน อาจแบ่งเป็นพาร์ท เช่น งานวิจัยถ้าเรามี 3 เฟส เขียนเฟส 1 ไปแล้วก็ไปอ้างอิงที่มาของบทความว่ามาจากโครงงานใด อย่างเช่น การมี Literature review สามารถเขียนบทความวิจัยได้ บางคนพูดถึงการแปลง Conceptualization ที่เป็นเครื่องมือวัด เอามาเขียนเป็น Methodology เฉพาะงานวิจัยนั้นได้ เพราะฉะนั้นงานวิจัยหนึ่งชิ้นแบ่งเป็น 5 ส่วน 5 หมวด บางทีเราแยกหมวด 1 หมวด 2 เราส่งในบทความวิจัยในเรื่อง Literature review หมวดที่ 3 เราพูดถึงการวัดการแปลง Methodology ต่างๆ การทำ Conceptualization ต่างๆ Operationalization ต่างๆ ก็ได้อีก และผลก็เอามาอย่างน้อยตีได้ 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นงานวิจัย 1 งาน ไม่ได้มีแค่ 1 บทความ เท่านั้น
ตัวอย่างผลสำเร็จ คือ อธิการที่ลาดกระบัง เคยไปฟังท่านเป็นวิทยากร โดยในระยะเวลา 2 ปี ได้ ผศ อีก 2 ปีได้ รศ อีก 1 ปีได้ ศ เขาทำแค่ 5 ปี ซึ่งเปรียบเหมือน ฆ่าควายขายยันขน หมายความว่า เขาจะทำวิจัยทีนึง เขาเขียนบทความวิชาการตั้งแต่ เขาเน้นรีวิวนะ เขาเอาใช้ในวารสารวิจัยของเขา ซึ่งเขาเป็นบรรณาธิการอยู่ เสร็จแล้วเอามารวมเล่มบทความนั้นมาทำตำรา ในขณะที่เขามีบทความวิชาการ เขาก็มีตำรา เพราะฉะนั้นเขาก็เป็น ศ ภายใน 5 ปี เป็นงานวิจัย Designing อธิการคนนี้คือคนที่ทำรถไฟใต้ดินในประเทศเรา ศาสตราจารย์ที่ลาดกระบัง อ.ไปอบรมสถาบันคลังสมองของชาติแล้วเขาพูดวิธีการเขาให้จริงๆ นะ เป็นประเภทอัจฉริยะ แต่ต้องมีการวางแผน เพราะฉะนั้นบทความวิชาการ บทความวิจัยจึงมีประโยชน์ อย่าคิดว่ามันเป็นภาระที่จะต้องทำ เพราะอีกหน่อยกฎหมายหรืออะไรก็แล้วแต่มันมาเรียกร้องให้เราทำแบบนี้ทั้งนั้น
สรุปเทคนิควิธี
- 1. งานวิจัย 1 ชิ้น ไม่จำเป็นต้องจบแล้วถึงเขียน อาจแบ่งเป็นพาร์ท เช่น งานวิจัยถ้าเรามี 3 เฟส เขียนเฟส 1 ไปแล้วก็ไปอ้างอิงที่มาของบทความว่ามาจากโครงงานใด
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
- 1. การแบ่งงานวิจัยออกเป็นส่วนย่อย