กิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรเพื่อทำงานวิจัยร่วม
14 กันยายน 2022เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการ (Proposal)
19 กันยายน 2022เทคนิคการสอนรูปแบบ MCT Model
ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
จากการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2564
จากการแลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ MCT Model และปรับ-ประยุกต์เทคนิคการสอนตลอดปีการศึกษาของคณาจารย์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สามารถสรุปเทคนิคการสอนรูปแบบ MCT Model ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้ดังต่อไปนี้
1 รูปแบบการสอน MCT Model ในการบูรณาการรายวิชา ประกอบด้วย
1.1 การบูรณาการนักศึกษาชั้นเดียวกัน กับหลายวิชา
1.2 การบูรณาการรายวิชาเดียวกันกับชุมชน/สถานประกอบการ
1.3 การบูรณาการนักศึกษาหลายชั้นเรียนกับชุมชน/สถานประกอบการ
2 สิ่งที่ต้องเตรียม
1.1 การบูรณการรายวิชา เพื่อการทำโครงการในระดับต่าง ๆ
2.2 การเตรียมโครงการต่าง ๆ ในการเรียนการสอน
2.3 การเตรียมวัสดุ และห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
2.4 การเตรียมการประสานงานกับสถานประกอบการภายนอก
2.5 เกณฑ์การประเมินผลงาน
3 เทคนิคการสอนในกรณีร่วมกับชุมชน/สถานประกอบการ
3.1 พิจารณาโจทย์งานให้เหมาะสมกับรายวิชา และการบูรณาการกับชุมชน/สถานประกอบการ
3.2 พิจารณาถึงขอบเขตงานแต่ละรายวิชา และสัดส่วนการให้คะแนน การวัดผลแต่ละวิชาอย่างชัดเจน
3.3 ควรให้โจทย์งานกับนักศึกษาในช่วงหลังกลางภาค หรือหลังจากเรียนทฤษฎีครบถ้วนแล้ว
3.4 อาจารย์แจ้งรายละเอียดงาน การแบ่งกลุ่มและแจ้งหน้าที่ในการทำงานแก่นักศึกษาในแต่ละรายวิชา
3.5 กำหนดวันให้โจทย์งานกับนักศึกษา และวันนำเสนองาน (Pitching) อย่างชัดเจน และควรให้ชุมชนหรือสถานประกอบการเข้าร่วมการอธิบายกับนักศึกษา
3.6 กำหนดรายละเอียดและอธิบายงานให้กับนักศึกษาเป็นรายการอย่างชัดเจน สามารถให้นักศึกษากลับมาทบทวนได้เสมอ
3.7 มีเวลาการทำงานให้กับนักศึกษาอย่างเพียงพอ
3.8 อาจารย์มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (Consultant) ให้ช่องทางการติดต่อ หรือ E-mail ดูแล ประสานงานระหว่างนักศึกษาและชุมชนตลอดโครงการ
3.9 จัดประชุมให้นักศึกษารายงานความก้าวหน้าการทำงานและนำเสนอแนวความคิดของทุกกลุ่ม
อาจารย์เสนอความคิดเห็นและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
3.10 วันนำเสนองาน (Pitching) ให้ชุมชนหรือสถานประกอบการเป็นผู้ตัดสินผลงานนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือก
3.11 ให้รางวัลผลงานกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือก เช่น การให้เกรด เงินรางวัล เป็นต้น
4 เทคนิคการสอนในกรณีบูรณาการรายวิชา
4.1 อาจารย์ในรายวิชาที่บูรณาการร่วมกันพิจารณาโจทย์งานให้เหมาะสมกับรายวิชา แบ่งสัดส่วนและ
เนื้อหาแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับโครงงาน
4.2 กำหนดการให้โจทย์โครงงานกับนักศึกษาในช่วงหลังกลางภาค หรือหลังจากที่นักศึกษาเรียนภาคทฤษฎี
4.3 กำหนดวันให้โจทย์โครงงานกับนักศึกษาพร้อมกัน พร้อมทั้งกำหนดวันนำเสนองาน (Pitching) เกณฑ์การพิจารณา และประสานเชิญลูกค้าเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ โดยจำลองสถานการณ์และบรรยากาศการนำเสนองานของบริษัทโฆษณา (Agency)
4.4 อาจารย์มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (Consultant) โดยใช้ช่องทางออนไลน์ ระหว่างที่นักศึกษาพัฒนาโครงงาน
4.5 วันนำเสนอโครงงาน อาจารย์และลูกค้าร่วมให้ข้อเสนอแนะกับนักศึกษา
5 เงื่อนไขของจัดการเรียนการสอนแบบ MCT Model
5.1 ควรใช้โจทย์จริงจากชุมชน / สถานประกอบการเพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับกระบวนการทำงาน
5.2 อาจารย์ภายในหลักสูตรร่วมกันพิจารณารายวิชาที่เหมาะสมกับโจทย์ของชุมชน / สถานประกอบการ และประสานงานก่อนเปิดภาคการศึกษา
5.3 โจทย์งานของชุมชน / สถานประกอบการควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชามุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง
5.4 ชุมชน / สถานประกอบการต้องมีเวลามีความเข้าใจคุณภาพงานและลักษณะการทำงานของนักศึกษา
5.5 ช่วงเวลาของกิจกรรมควรอยู่ในช่วงหลังจากนักศึกษาเรียนเนื้อหาทฤษฎีครบถ้วนแล้ว อาจจะอยู่ช่วงก่อนสอบกลางภาค หรือหลังการสอบกลางภาค ควรให้เวลากับโจทย์งานไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์
5.6 การบูรณาการจะกำหนดจากชุมชนหรือสถานประกอบการ และสามารถบูรณาการได้ดังนี้
1) การบูรณาการจากโจทย์ ปัญหาความต้องการของชุมชน
2) การบูรณาการจากโครงการวิจัยของอาจารย์ที่ได้งบประมาณจากภายนอก
3) การบูรณาการจากโครงการบริการวิชาการของหลักสูตร หรือคณะ
6 ประโยชน์ของการสอนรูปแบบ MCT Model
6.1 มุมมองของอาจารย์
1) การบูรณาการมากกว่า 1 รายวิชาสำหรับนักศึกษาห้องเดียวกัน ส่งผลให้นักศึกษาสามารถจัดการเรื่องเวลาในการพัฒนาผลงานได้ดียิ่งขึ้น ได้เรียนรู้และเห็นกระบวนการภาพรวมทั้งหมดของรายวิชาที่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่จะรู้เพียงส่วนหนึ่ง จากรายวิชาเดียวเท่านั้น และยังเป็นการลดภาระในการพัฒนาผลงานที่มีจำนวนมากตามจำนวนรายวิชา แต่ไปเน้นพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้น
2) การบูรณาการการทำงานมากกว่า 1 รายวิชา ส่งผลให้อาจารย์ผู้สอนที่เป็นคนเดียวกันสามารถจัดการเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผลได้ดี และลดภาระของอาจารย์
3) การบูรณาการร่วมกับชุมชนช่วยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เกิดจิตสำนึกและความรู้สึกอยากแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ของชุมชน
4) การบูรณาการนำโจทย์ปัญหาจากชุมชนมาเป็นโจทย์ในรายวิชา นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงแล้วยังเป็นการบูรณาการงานบริการวิชาการสังคมแก่ชุมชนกับการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ทางหลักสูตรและคณะจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกปี
5) การนำโจทย์/ปัญหา/ความต้องการขององค์กร ชุมชน หรือลูกค้าจริงมาเป็นโจทย์ในรายวิชาส่งผลให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกทักษะจากประสบการณ์จริง เผชิญปัญหาเฉพาะหน้า และรู้จัก วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ระหว่างทาง จนพัฒนาผลงานได้สำเร็จ
6) นักศึกษาได้จำลองการทำงานในรูปแบบแบ่งเป็นทีมได้ และสามารถจัดลำดับขั้นตอนในการทำงาน ได้ใช้ประสบการณ์แบบพี่สอนน้อง การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานร่วมกันในระหว่างชั้นปี เป็นการให้นักศึกษามีประสบการณ์ทำงานที่ดี ฝึกการสื่อสารภายในทีม
7) สามารถนำประสบการณ์การทำงานเป็นทีมและยังสามารถต่อยอดไปเป็นผู้ประกอบการที่ดี
ได้ในอนาคตได้
6.2 มุมมองของนักศึกษา
1) จากการสอบถามผลจากการบูรณาการรายวิชา MCT Model พบว่านักศึกพึงพอใจ เนื่องจากลดภาระงานของนักศึกษาได้ ไม่ต้องทำงานหลายชิ้น
2) ในการมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงการ MCT Model คณะหรือสาขาวิชาควรสนับสนุนเรื่อง เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนักศึกษาในการทำงานโครงการ
3) การนำ MCT Model มาใช้ในการเรียนการช่วยลดภาระการมอบหมายงาน และการตรวจงานของอาจารย์ได้ แต่ควรมีการวางแผนที่ชัดเจน ตลอดจนสัดส่วนการประเมินผลแต่ละรายวิชา
4) ควรกำหนดแผนการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสนในการมอบหมายงาน
5) การทำงานร่วมกับชุมชน/สถานประกอบการ ต้องมีการวางแผน ติดต่อประสานงานกับลูกค้า เพื่อนร่วมทีม และเกิดประสบการณ์ในการทำงานจริง